บันทึกครั้งที่ 3
เนื้อหา/กิจกรรม
เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลาบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และการทากิจกรรมของเด็ก จาแนกได้ดังนี้
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.1 ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กาลังพัฒนาถูกทาลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างกายมีอาการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
1.1.4 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กาเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida) ทาให้เกิดความพิการของประสาทไขสันหลังส่วนนั้น ๆ สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจมีน้าคั่งในสมอง และกระดูกเท้าพิการ เด็กประเภทนี้จะยืน เดินโดยใช้กายอุปกรณ์เสริม
1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญที่ต่อมน้าเหลืองในลาคอ ลาไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง
1.5 แขนขาด้วนแต่กาเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทาให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ
2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทาให้หมดสติ และหมดความรู้สึก
2.1.2 การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที
2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู่
2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex) บางครั้้งเรียก ไซโคมอเตอร์ (Psychomotor) หรือเทมปอรัลโลบ (Temporal Lobe)
2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทาอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโตเนื่องจากน้าคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กาเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระดูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
ความบกพร่องทางการพูดและภาษาสามารถจาแนกได้ดังนี้ คือ
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เช่น พูดเสียงขึ้นจมูกเนื่องมาจากอิทธิพลของภาษาถิ่น
1.2 เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคาโดยไม่จาเป็น
1.3 เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด ออกเสียงเป็น ฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
3.1 ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่าเกินไป หรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมด
3.2 ความดัง เช่น พูดเสียงดังมาก หรือเบามากจนเกินไป
3.3 คุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียงแปร่ง
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จักได้แก่
4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึงผู้ที่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลาบาก พูดช้า ๆ
4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย (word deafness)
4.3 Conduction aphasia หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคาถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคาถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ
4.5 Global aphasia หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory agraphia หมายถึงผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคาถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
4.7 Motor agraphia หมายถึงผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคาบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึงผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Motor alexia หมายถึงผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) ทาคานวณไม่ได้ (acalculia) เขียนไม่ได้ (agraphia) อ่านไม่ออก (alexia)
4.11 Visual agnosia หมายถึงผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้ (finger agnosia)
4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึงผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคา หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น