ภาพ

ภาพ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12 วันอังคาร ที่ 21 มกราคม 2557

บันทึกครั้งที่  12



                            สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาและให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอความบกพร่องของเด็กพิเศษ ให้เพื่อนๆได้รับชม แล้วให้เพื่อนประเมิน การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม 

เนื้อหาที่เรียน

             เรื่อง  พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                      พัฒนาการ  หมายถึง  การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

                               - พัฒนาการด้านร่างกาย
                               - พัฒนาการด้านสติปัญญา
                               - พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
                               - พัฒนาการด้านสังคม


            เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ   หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก  
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก




สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

           1. โรคพันธุกรรม

               2. โรคของระบบประสาท

               3. การติดเชื้อ

          4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม 

          5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด 

          6. สารเคมี

          7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร 

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

        มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา  การใช้ภาษา  ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น  ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ         
        1. การซักประวัติ


            กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า 

          1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
          2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
          3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
          4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
          5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร



           2. การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
         

            2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ

            2.2  ภาวะตับม้ามโต

            2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers 

            2.4 ระบบประสาทต่างๆ

            2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
         

            2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย

        3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

        4.การประเมินพัฒนาการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น